ติดตั้งลินุกซ์ Arch สุดแสนจะง่าย เพียงใช้ Architect Installer [ละเอียดยิบ]


สวัสดีครับทุกท่าน หลังจากที่ผมได้ขลุกอยู่กับลินุกซ์ Arch มาสักพัก ผมก็ชักจะชอบมันซะละ จนได้เขียนบทความ การติดตั้งลินุกซ์ Arch 2016 [ทำไมมันง่ายแบบนี้] ขึ้นมา แต่นั่นก็คือการติดตั้งแบบเดิมๆ จากทางผู้ผลิต คือต้องพิมพ์คำสั่งเอาทั้งหมด ซึ่งมันก็อาจจะยากไปสำหรับใครหลายๆ คน ที่เพิ่งจะลองใช้ลินุกซ์ รวมถึงตัวผมด้วย แล้วผมก็ได้หาวิธีอีกการติดตั้งแบบอื่นๆ เผื่อจะมีที่ง่ายกว่านี้บ้าง และผมก็ได้เจอเจ้า Architect Installer ซึ่งเป็นตัวช่วยในการติดตั้งลินุกซ์ Arch โดยที่เราไม่ต้องพิมพ์คำสั่งอะไรเลย แค่เลือกแพคเกจที่เราต้องการเท่านั้น เอาหละ เรามาดูกันเลยว่ามันง่ายแค่ไหน จัด...

ดาวน์โหลด Image file

ลิงค์นี้จ้า https://sourceforge.net/projects/architect-linux/
ไฟล์ที่ผมใช้เป็น architect-2016.03.01-64bit.iso ซึ่งหากท่านใดใช้เวอร์ชั่นที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่า แต่ละขั้นตอนละจะไม่เหมือนกันนัก อาจจะอยู่สลับที่กันแค่นั้น

Boot Image file

เลือก Boot Architech Linux (x86_64) เพื่อเข้าสู่การติดตั้ง

รอมันเช็คไป

ยินดีรับต้อน เอ้ย! ต้อนรับ (ยังกล้าเล่น) จากนั้นก็รอต่อไป



จากตรงนี้คุณต้องเลือกว่าอยากได้แพคเกจแบบไหน ระหว่าง Stable ที่มีเสถียรแล้ว หรือ Development ที่สดใหม่ แต่ยังพัฒนา เมื่อเลือกเสร็จ ระบบจะดึงข้อมูลเพื่อเตรียมการติดตั้งต่อไป


เลือกภาษาได้เลย เอาที่สบายใจ แต่ผมเลือก English นะ แล้วก็รอมันเช็คต่อไป


โอเคทุกอย่างผ่าน

รอมัน Sync สักครู่

ยินดีต้อนรับ....(อ่านเอาเอง) เอาหละ จากนี้คือของจริง

Prepare Installation

เริ่มจากจัดการใส่ส่วนของ Prepare Installation ก่อน ในส่วนนี้ผมจะจัดการแค่ของที่คือ Partition Disk กับ Mount Partitions เท่านั้น

เข้าไปที่ Partition Disk 



ระบบจะแสดงพื้นที่ของ Harddisk ทั้งหมด จากนั้นก็กด OK เลย

เลือก Automatic Partitioning หรือใครอยากะจะแบ่งเองก็ได้เหมือนกันครับ แต่ใน Arch ผมยังไม่ค่อยจะเชี่ยวชาญเท่าไหร่ Auto ไปก่อนละกันครับ

ตรงนี้ระบบจะบอกว่า จะสร้าง Partition มาสองอัน อันแรกคือ 512  MB สำหรับ boot ซึ่งไม่ต้องสนใจมัน และอันที่สอง คือพื้นที่พื้นที่สำหรับติดตั้งข้อมูลของระบบ แล้วก็เลือก Yes ได้เลย

ระบบจะสรุป Partitions ที่ได้สร้างขึ้น

เข้าไปที่ Mount Partitions

OK ไปเลย

ตรงนี้สนใจ sda2 พอ แล้วก็ OK

เลือกระบบไฟล์ที่ต้อง ผมเลิอก ext4

ตอบ Yes เพื่อยืนยัน

ตรงนี้ผมไม่ได้เลือกอะไร ตอบ OK ไปเลย

เรียบร้อย

จัดการ Swapfile ต่อ แล้ว OK

ใส่ตัวเลขไปว่าอยากได้ใหญ่ขนาดไหน ในนี้ผมให้ระบบจัดการเลย

เสร็จแล้วเลือก Done ก็เป็นอันเรียบร้อย

Back เพื่อไปตั้งค่าส่วนอื่นๆ

Install Base

เข้าไปที่ Install Base

เข้าไปที่ Configure Installer Mirrorlist

จากนั้นเลือก Generate mirrorlist by Country

ผมหา Thailand ไม่เจอ เลยเลือก Singapore ละกัน

รอ...

เผื่อใครอยากแก้ไข ก็สามารถทำได้ เสร็จแล้วก็ Ctrl+X เพื่อออกจากหน้านี้

ตอบ Yes ไป

เสร็จละ

ต่อมา Run RankMirror

รอ...

เสร็จแล้ว ก็ Back

เลือก Refresh Pacman Keys

รอ...

เลือก Install Base Packages

เลือก Standard Installation หรือใครอยาก Advanced ก็ตามสะดวกนะครับ

เลือกกลุ่มของ Package ที่ต้องการครับ ในนี้ผมเลือกสองอันพอ LTS ไม่ต้องการ :D

รอ..

จากนั้นเลือก Install Bootloader

ผมเลือก Grub เพราะง่ายดี

รอ...

เสร็จแล้วระบบจะถามว่าต้องการติดตั้ง Grub ไว้ที่ Harddisk ตัวไหน ในนี้ผมมีแค่ตัวเดียว ก็ OK ได้เลย

รอ...

Back

Configure Base

เข้าไปที่ Configure Base

Set Hostname

ใส่ชื่อที่ต้องการแล้ว OK

Set System Locale

เลือก en_US .UTF-8

Set Timezone and Clock

เลือก Asia

Bangkok

ตอบ Yes ไปเลย

เลือก localtime

เลือก Set Root Password เพื่อตั้งรหัสให้ Root

ใส่รหัสผ่านที่ต้องการ

ใส่รหัสผ่านอีกครั้ง ให้เหมือนกับที่ใส่อันแรก

เข้าไป Add New Users เพื่อเพิ่มผู้ใช้ของเรา

ใส่ชื่อที่เราต้องการ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ แล้วก็ OK

ใส่รหัสผ่านที่ต้องการ

ใส่รหัสผ่านอีกครั้ง ให้เหมือนกับที่ใส่อันแรก

รอ...

เลือก Run Mkinitcpio

รอ...

Back

Install Graphical Interface

เข้าไปที่ Install Graphical Interface

เข้าไปที่ Install Display Server

เลือก Package ที่ต้องการ อันนี้ผมไม่ได้เลือกอะไรเพิ่มเติมจากที่ระบบเลือกให้เลย จากนั้น ตอบ OK ไป

รอ...

ต่อไปเลือก Install Display Driver ก็คือส่วนของไดรว์เวอร์การ์ดจอ

ใครใช้การ์ดจอค่ายไหนก็เลือกใช้กันได้ตามสบายเลย ในนี้ผมติดตั้งผ่าน VirtualBox ครับ

เพราะผมติดตั้งผ่าน VirtualBox เลยขึ้นข้อความนี้มา หากใครไม่ขึ้นก็ไม่ผิดอะไร แล้วตอบ OK 

รอ...

ต่อมาคือส่วนของ DE เลือก Install Graphic Environment

เขาบอกว่า สามารถติดตั้งหลาย DE ได้ (คิดว่านะ)

ใครชอบ DE ไหน ก็เลือกได้ตามสบายเลยนะครับ ส่วนตัวผมขอเลือก Gnome ละกัน

รอ...

เลือกแพคเกจของ DE ที่เราติดตั้งลงไป ปกติแล้วระบบจะติดตั้งให้หมดอยู่แล้ว หรือใครไม่อยากได้ตัวไหน ก็สามารถเอาออกได้ จากนั้นก็ OK

รอ...

Install Display Manager หากใครยังไม่รู้ว่าคืออะไร จริงๆ มันก็คือหน้า Login นั่นแหละครับ

ผมเลือก sddm ละกัน ผมไม่ขออธิบายถึงข้อแตกต่างแต่ละตัวนะครับ เดี๋ยวจะยาว แล้ว OK

รอ...

เรียบร้อย

Set Desktop Keyboard Layout ต่อ

เพื่อความง่ายเลือก us ไว้ก่อนนะครับ

กลับ

Install Networking Capabilities

เลือก Install Networking Capabilities เพื่อจัดการในส่วนของเครือข่าย

มีแค่ LAN ผมเลยเลือกติดตั้งแค่ Install Network Connection Manager

เลือกโปรแกรมที่ใช้จัดการ LAN ในนี้ผมเลือก NetworkManager

เรียบร้อย

Install Multimedia Support

Install Multimedia Support ตรงนี้จะเป็นส่วนของไดรว์เวอร์เสียงรวมถึง Codecs ต่างๆ

เลือก Install Sound Driver เพื่อติดตั้งไดรว์เวอร์เสียง

ผมก็ไม่รู้จะติดตั้งอันไหนเหมือนกัน เอาเท่าที่ระบบเลือกให้ละกัน เสร็จแล้ว OK

รอ...

มาในส่วนของ Install Codecs

ตรงนี้ก็เหมือนกัน เลือก Codecs ที่ต้องการ

เสร็จแล้วก็ กลับ

แล้วก็ ดัน (Done)

แล้วก็ Yes

แล้ว Reboot รอดูผลงานได้เลย

Login Screen

เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้งานลินุกซ์ Arch ได้เลย

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับการติดตั้งลินุกซ์ Arch โดยใช้ผู้ช่วยอย่าง Architect Installer ซึ่งมันทำให้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากๆ เราแทบจะไม่ต้องจำคำสั่งอะไรเลย แค่เลือกๆ แพคเกจที่เราต้องการแค่นั้น ซึ่งวิธีนี้ก็อาจจะทำให้หลายท่าน หันมามองลินุกซ์ Arch บ้าง หากสิ่งที่ผมนำเสนอไป มีข้อผิดพลาดตรงไหน ก็สามารถเม้นบอกกันได้เลยครับ เพราะผมเองก็ไม่ได้เก่งอะไร แค่เป็นคนๆ นึงที่ชอบลินุกซ์และอยากจะแบ่งปันความรู้ให้ทุกท่าน สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยตรงไหน ก็สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามกันได้ครับ สุดท้ายนี้ บทความนี้ ก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ.
SHARE
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

แสดงความคิดเห็น