ระบบไฟล์ใน Linux

filesystemlinux
 


สวัสดีครับทุกท่าน หลังจากที่ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับ Linux ทั้งรีวิว Distro ก็คือรีวิวตัว Linux ในแต่ละตัวนั่นเอง รวมถึงวิธีการติดตั้งต่างๆ อาจจะมีหลายท่านยังสงสัยเกี่ยวกับระบบไฟล์ใน Linux แน่นอนว่ามันค่อนข้างจะเข้าใจยากเหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับมือใหม่อย่างเราๆ รวมถึงผมด้วย วันนี้เราจะมาดูในแต่ละส่วนกัน ว่ามีอะไร ทำงานและมีความสำคัญอย่างไรกันบ้าง อ้อขอเสริมอีกนิดนึง ระบบไฟล์ Linux จัดแบ่งออกเป็นลำดับชั้นเหมือนต้นไม้กลับหัว. จุดสูงสุดของระบบไฟล์คือ / หรือ แฟ้มราก (root directory) ความคิดในการออกแบบระบบ Linux ทุกอย่างให้ถือเป็นไฟล์หมดไม่ว่าจะเป็นฮาดดิกส์, ส่วนของฮาดดิกส์, สื่อบันทึกที่ถอดเก็บได้. นั่นหมายความว่าทุกแฟ้มและไฟล์รวมทั้งฮาดดิกส์ตัวอื่นจะอยู่ภายใต้แฟ้มราก (root directory). อ่า! คงจะงงกันใช่ไหม ไม่เป็นไร งั้นดูรูป (ผมไปจิ๊กเค้ามานะ อิอิ)


FS-layout

จากภาพจะเห็นได้ว่า (ดูเป็นทางการจัง) ทุกอย่างจะอยู่ภาพใต้คำสั่ง root ซึ่งลักษณ์แทน root ก็คือ / นั่นก็หมายความว่า ถ้าอยู่ในสิทธิ์ของ root จะสั่งการอะไรคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ แม้แต่ทำลายตัวเอง (มั้ง ผมไม่เคยลองเหมือนกัน) เอาหละเห็นการทำงานกันแล้ว ต่อไปเรามาดูหน้าที่ของแต่ละอันกันบ้าง

/bin

ย่อมาจาก Binary เป็นไดเร็กทอรีสำหรับเก็ยคำสั่งที่เรียกใช้จากผู้ใช้ โดยส่วนใหญ่เป็นคำสั่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานระบบ และเป็นคำสั่งพื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน Linux ทั่วไป

/boot

ใช้เก็บไฟล์เริ่มต้นหรือ kernel ของ Linux เอง รวมทั้งไฟล์ที่จำเป็นต้องใช้ boot เครื่อง เช่น GRUB (GRand Unified Bootloader) หรือ LILO

/dev

ย่อมาจาก Device ใช้เก็บชื่อไฟล์พิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในระบบ อาทิเช่น tty (Terminal) hda (harddisk) เป็นต้น โดยในแต่ละไฟล์จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หนึ่งชิ้น

/etc

เขาบอกว่า et cetera ใช้เก็บ Configuration file ซึ่งใช้สำหรับดูแลรักษาระบบ (System administrator) และไฟล์สคริปต์ที่ใช้ควบคุมการเปิดปิด Service ต่างๆ มักจะอยู่ที่ /etc/init.d

/home

เป็นไดเร็กทอรีสำหรับเก็บข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนยกเว้น root จะเก็บไว้ที่ /root ต่างหาก (คล้ายไฟล์ User ใน Windows เลย)

/lib

Library สำหรับเก็บไลบรารีของโปรแกรมต่างๆ

/lost+found

เป็นไดเร็กทอรีที่ใช้เก็บไฟล์ที่กำลังถูกใช้งานแล้วดิสก์เกิดปัญหา หรือระบบลมโดยไม่ได้มีคำสั่งปิดเครื่องที่ถูกต้อง ซึ่งบางครั้งทำให้ไฟล์ที่กำลังใช้งานเหล่านี้มีปัญหา เมื่อเริ่มการทำงานของระบบใหม่(boot) โปรแกรม fsck ซึ่งใช้ตรวจสอบระบบไฟล์จะเริ่มทำงาน หากพบไฟล์ลักษณะดังกล่าวในระบบไฟล์ใด ก็จะนำไฟล์เหล่านั้นไปไว้ในไดเร็กทอรีดังกล่าว

/media

เป็นไดเร็กทอรีสำหรับ mount อุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ เช่น cdrom, thumb drive

/mnt

เป็นไดเร็กทอรีที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆ

/opt

เป็นไดเร็กทอรีที่ใช้เก็บโปรแกรมส่วนขยายอื่นๆ หรือโปรแกรมประเภท third party software หรือโปรแกรมที่เราเอามา install เอง แต่โดยมากจะเก็บที่ /usr/local มากกว่า

/proc

เป็นไดเร็กทอรีสำหรับเก็บข้อมูลของระบบที่กำลังทำงานอยู่เช่น โปรเซส หรือ สถานะต่างๆของระบบ

/root

เป็น home directory ของ root

/sbin

เป็นไดเร็กทอรีสำหรับเก็บโปรแกรมหรือคำสั่งสำหรับดูแลระบบ โดยมากโปรแกรมที่เก็บอยู่ในนี้ต้องใช้ สิทธิ root หรือต้องใช้ sudo

/tmp

เป็นไดเร็กทอรีที่ใช้เก็บไฟล์ชั่วคราว ไดเร็กทอรีนี้ไม่ว่าผู้ใช้คนใดในระบบสามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อ boot เครื่องใหม่ข้อมูลจะหาย

/usr

เป็นไดเร็กทอรีย่อยที่ใช้เก็บโปรแกรม ไลบรารีต่างๆ หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ติดตั้งเพิ่มเติมลงไป

/var

เก็บไฟล์ที่เปลี่ยนแปลงหรือไฟล์ชั่วคราวต่างๆ ที่สร้างโดยโปรแกรมหรือผู้ใช้ เช่น log ข้อมูล E-mail ข้อมูลการพิมพ์ต่างๆ เป็นไงกันบ้างครับ มีใครยังงงกับระบบไฟล์ใน Linux ไหมเอ่ย ขอบอกเลยว่า ระบบค่อนข้างซับซ้อนมาก และยากกว่าถ้าเทียบกับ Windows แล้ว แต่ความยากนี่แหละที่เป็นจุดแข็งของ Linux ที่ทำให้มีความปลอดภัยสูงกว่า Windows นั่นเอง เอาหล่ะ สำหรับบทความนี้ก็ขอจบไว้เพียงนี้นะครับ เอาไว้เจอกันใหม่บทความหน้าสวัสดีครับผม.
SHARE
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

แสดงความคิดเห็น