สุดยอด DE สำหรับ Linux แห่งปี 2016

linux-principal


DE สำหรับ Linux นั้นก็มีมากมาย ผู้ใช้อย่างเราๆ เลือกไม่ถูกเลยทีเดียว สำหรับปี 2016 นี้ DE หลายๆ ตัวก็พัฒนากันไปมากมาย แข่งกันสวย แข่งกันหล่อ แข่งกันเสถียรในการใช้งาน แต่เรามาดูกันดีกว่าว่า DE ตัวไหนที่จะเข้าตากรรมการ จนต้องยกให้เป็นสุดยอดแห่ง DE สำหรับ Linux เอาหละเรามาดูกันเลยดีกว่าว่ามีตัวไหนกันบ้าง

เริ่มจาก...

Plasma

Plasma หรือที่เรารู้จักกันก็คือ KDE นั่นเอง ตอนนี้ออกถึงเวอร์ชั่น 5 แล้ว ซึ่งขอบอกเลยว่าสวยงามมากๆ ไม่รู้จะหาคำไหนมาเรียกถึงความสาวของมัน เอาจนผมหลงไหลเอามากๆ แม้แต่ Mac OSX หรือ Windows ก็อย่าได้มาเทียบ ฮ่าๆ ซึ่งก็ใช่ว่ามันจะมีดีเรื่องความสวยเพียงอย่างเดียว ในเวอร์ชั่น 5 นี้ได้พัฒนาความเสถียรภาพในการใช้งานค่อนข้างมาก อาจจะเทียบเท่า Ubuntu รุ่นปกติเลยก็เป็นได้ (เท่าที่ผมลองนะ)

desktop


นอกจากนั้นคุณสามารถเพิ่มฟังก์ชันการทำงานได้มากขึ้น ซึ่งซอฟแวร์ต่างๆ มาพร้อมให้ใช้งานกันอย่างครบครัน อาทิ Krita โปรแกรมวาดภาพสุดเมพ (ผมแนะนำในบทความก่อนๆ แล้ว) หรือ จะเป็น Kdenlive  โปรแกรมตัดต่อวีดิโอ และซอฟต์แวร์การใช้งานอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยชุมชน KDE
ซึ่งหากคุณจะลอง KDE Plasma แล้วละก็คุณต้องไม่พลาด openSUSE

GNOME

GNOME (GNU Network Object Model Environment) ก่อตั้งขึ้นโดย Miguel de Icaza และ Federico Mena ในปี 1997 เพราะ KDE ใช้เครื่องมือ Qt ซึ่งถูกปล่อยออกภายใต้ใบอนุญาตที่เป็นกรรมสิทธิ์ ซึ่ง Gnome จะแตกต่างจาก KDE ที่มีการปรับแต่งหลากหลาย มุ่งเน้นไปที่การรักษาสิ่งที่ง่าย GNOME กลายเป็นที่นิยมอย่างมากเนื่องจากความเรียบง่ายและความสะดวกในการใช้งาน ปัจจัยที่ผมคิดว่ามีส่วนทำให้ความนิยมอย่างมากก็คือ Ubuntu เพราะตามที่เรารู้คือ Ubuntu เป็น Linux ที่มีความนิยมมาก และสมัยก่อนก็เคยใช้ DE แบบ Gnome แล้วก็เปลี่ยนมาเป็น Unity (แล้วก็โดนด่าตามระเบียบ อิอิ)

gnome


กับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ GNOME ได้ออกเวอร์ชั่นใหม่คือ GNOME3 ซึ่งเราสามารถปรับแต่ง GNOME 3 Shell ได้อย่างอิสระมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Shell ออกแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งตรงนี้แหละที่จะนำไปสู่​​ความขัดแย้งบางอย่างกับแผนการของ Canonical กับ Ubuntu จนตอนนี้ Ubuntu ก็ได้มี DE ของตัวเองแล้วนั่นก็คือ Unity

ถึงแม้ว่า GNOME3 ทาง Canonical จะไม่สนใจ ก็ใช่ว่า GNOME จะไม่เป็นที่น่าสนใจ ทีมงาน GNOME ก็มีการกำหนดเป้​​าหมายกับอุปกรณ์ที่ใช้งานระบบสัมผัส ดังนั้นหากคุณมีแล็ปท็อปใหม่ที่มาพร้อมกับหน้าจอสัมผัส Gnome ก็เป็น DE เหมาะสมกับคุณ และน่าลองมากเลยทีเดียว

Unity

ก็อย่างที่ทราบกันดีว่า ด้วยการมาของ GNOME3 ทำให้ความคิดระหว่าง ทางทีมงานผู้พัฒนา GNOME กับทาง Canonical ที่พัฒนา Ubuntu ไม่ลงรอยกัน ทาง Canonical ก็ได้ทำการสร้าง DE ของตัวเองแม่มเลย

unity

ถึงแม้จะมีผู้ใช้บ่นว่ามันช้า มันห่วย มันกาก แต่นั่นก็คืออดีต ปัจจุบันนี้ Unity มันแจ่มมากๆ เลยนะ (จบข่าว...)


Cinnamon

Cinnamon

Cinnamon ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Linux Mint ซึ่งเป็น Linux ที่มีความนิยมมากที่สุดของ DistroWatch 
Cinnamon เป็นสาขาย่อยของ GNOME อีกที เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบ UI แบบ Windows ซึ่งขอบอกเลยว่ามันคล้ายและใช้ง่ายมากๆ สำหรับท่านที่เพิ่งย้ายจาก Windows มา Linux Cinnamon น่าจะเป็นอีกตัวเลือกนึงที่ท่านควรจะลอง ด้วยความเรียบง่ายคล้ายๆ GNOME แต้ Cinnamon เบาเครื่องกว่า GNOME เอามากๆ

MATE

mate



DE MATE ก็ยังเป็นสาขาย่อยของ GNOME เหมือนกัน แต่จะแตกต่างจาก Cinnamon ก็ตรงที่ MATE จะยังใช้ Codebase จาก GNOME2 อยู่ ถึงจะเป็นแบบนั้นก็ใช่จะใช้เทคโนโลยีเก่าและล้าสมัย แต่พวกเขาจะใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อพัฒนา GNOME2 ให้ได้ประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น สิ่งที่น่าประทับใจก็คือมันสามารถทำงานบนฮาร์ดแวร์เก่าหรือใหม่ได้ทั้งนั้น รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย เช่น Raspberry Pi หรือ Chromebook  

LXQt

LXQt


LXQt เป็นผู้สืบทอดของ LXDE ขึ้นชื่อเรื่อง DE ที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งเป็นการควบรวมกิจการของทั้งสองระหว่าง LXDE และมี Razor-Qt รุ่นที่สามารถใช้งานได้เป็นครั้งแรกของ LXQt (V 0.9) ได้รับการปล่อยตัวในปี 2015 จะว่าไป LXQt มีความคล้ายกับ KDE เอามากๆ แบบว่าสวยด้วย และเบาด้วย เป็น DE ที่เหมาะกับเครื่องเก่าๆ แก่ แต่ได้ DE สวยๆ ใช้ ตัวนี้ก็น่าลอง

Xfce

Xfce

Xfce ถือกำเนิดสภาพแวดล้อมเดสก์ทอป KDE มันเป็นหนึ่งในที่เก่าแก่ที่สุดและเบาที่สุด รุ่นล่าสุดของ Xfce คือ 4.15 ซึ่งได้รับการปล่อยตัวในปี 2015 และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น GTK3 Xfce ซึ่งจะถูกใช้กับพวก Distro ที่ต้องการทำงานเฉพาะทางเช่น Ubuntu Studio หน้าตา คล้ายๆ เหมือน MATE ทำให้การใช้งานลื่นไหล นอกจากนี้ยัง Xfce ยังใช้เป็น DE หลักกับ Distro อื่นมากมาย เช่น Manjaro Linux, Salix, and Mythbuntu.

Budgie

Budgie

Budgie เป็นสภาพแวดล้อมเดสก์ทอปใหม่ได้รับการพัฒนาโดยทีมงานลินุกซ์ Solus โดย Budgie ใช้ส่วนประกอบของ GNOME จำนวนมากและมี UI ที่เรียบง่าย  Ikey Doherty ซึ่งเขาคือผู้พัฒนา เขาอธิบายว่า "เราจะทำให้คอมทุกเครื่องใช้ DE Budgie" สิ่งที่ Budgie แตกต่างจาก DE อื่นๆ คือ Budgie ไม่ได้เป็นสาขาย่อยของ DE ใดๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อบูรณาการเข้าไปในสแต็คของ GNOME และการออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งตอนนี้ Solus Project ก็ยังเป็นแค่ไข่ ถึงแม้จะออกมาให้ใช้ในรูปแบบ Beta กันบ้างแล้ว แต่ก็ถือว่ายังไม่เสร็จ ใครสนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์นี้ Solus Project

Pantheon

Pantheon

Pantheon เป็น DE ที่ใช้ใน Linux elementary ซึ่งแน่นอนว่าเจ้านี้เค้าขึ้นชื่อเรื่องการใช้งานที่ง่าย ผู้ใช้ Linux มือใหม่ที่อยากได้ Linux ใช้ง่ายๆ สวยๆ ตัวนี้ก็เป็นหนึ่งตัวที่น่าลองเลยทีเดียว ซึ่งความเรียบง่ายของมันก็จะเหมือนกับ Budgie แต่ต่างตรง Pantheon ตอนนี้เปิดให้ใช้งานและไม่เป็น Beta เหมือน Solus แล้ว
SHARE
    Blogger Comment
    Facebook Comment