นิทานเจ้าตู่ (UBUNTU) : ตอนที่ 3 ประวัติ Windows XP

เข้ามาอยู่ได้สักพักก็เริ่มมีความสนใจคนที่อยู่ข้างๆ ห้องขึ้นมา อาศัยตอนที่เจ้านายเล่นเน็ตอยู่ ก็เลยให้น้องจิ้งจอกช่วยหาข้อมูลให้ฉัน น้องจิ้งจอกลุกขึ้นมาอย่างช้าๆ แต่พอทำงานก็ยังถือว่าเร็วอยู่ โดยเฉพาะติดตั้ง Plugin Fasterfox แล้วด้วย XP เป็นโอเอสที่มีชื่อเสียง และนับเป็นลูกหลานของตระกูลดัง ในปี 1985 บริษัทที่ทั้งเล็กทั้งอ่อนได้สร้างต้นตระกูลของ XP ออกมา คือ Windows 1.0 ชื่อฟังดูโบราณไปหน่อย ไม่ดูดีเหมือน XP อันที่จริง คุณปู่ทวดผู้นี้ก็งั้นๆ จริงๆ ไม่ได้อยู่ในสายตาใครเลย ฉันก็ยังหารูปของเขามาให้ได้ด้วย

lizxgo8dhf2t6

 อีกสองปีต่อมา วันที่ 9 ธันวาคม 1987 Windows รุ่นสองก็ได้ออกสู่ตลาด ตอนนั้นคนสร้างก็ขี้เกียจตั้งชื่อ ก็เลยให้ชื่อว่า Windows 2.0 ก็ยังเป็นบริษัทที่ทั้งเล็กทั้งอ่อน หน้าเดิมๆ เหมือนพ่อมันเด้ะ

li9lfnmmu754k


 และใช่ว่าแค่หน้าตาเหมือนกันเท่านั้นนะ ได้รับการตอบรับพอๆกันด้วย คือแทบจะไม่มีใครมอง แต่มีความแตกต่างกันมากอยู่อย่างคือ 2.0 มีลูกที่ดี แต่ 1.0 ไม่มี ในที่สุด Windows 3.0 ก็ได้ทำให้บริษัทที่เล็กๆ อ่อนๆ ได้เชิดหน้าชูตาสะที เชื่อว่าคนใช้รุ่นเก่าๆก็ได้เริ่มต้นจากอีกสาขาหนึ่งของ Windows 3.0 นั้นก็คือ Wondows 3.2 ถูกไหมครับ ในวันที่ 22 พฤษภาคม 1990 Windows 3.0 เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในปีที่สอง คือปี 1991 ได้มีWindows 3.0 version หลายๆ ภาษาเกิดขึ้น และในปีเดียวกัน ได้มีเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งเกิดขึ้น ในปี 1991 คอมพิวเตอร์ของนักศึกษาที่อยู่ใน University of Helsinki ต้นแบบของต้นตระกูลเราได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างช้าๆ รหัสโปรแกรมค่อยๆ ไหลเข้าไปในร่างกายอย่างช้าๆทีละแถวๆ ขณะนั้น Windows 3.0 ก็ได้เป็นที่รู้จักกันแล้ว และได้ก้าวเข้าสู่ระบบ graphic ทั้งยังมีหลายๆ ภาษาด้วย แต่ต้นตระกูลของเรายังพูดเป็นแค่ Helloworld! แต่ใน10กว่าปีให้หลัง ก็เป็นอีกแบบหนึ่งแล้ว กลับมาพูดถึงตระกูลของWindows ดีกว่า ในปี 1992 Windows 3.1 ได้กำเนิดขึ้น ถือเป็นรุ่นปรับปรุงของ 3.0 เขาได้เพิ่มระบบ Multimedia พื้นฐานเข้าไปด้วยและยังเพิ่มFont ที่เป็น TrueType ด้วย TrueType ต่างจาก Dot character คือสามารถขยายหรือย่อได้ มองดูสวยกว่า ในปี 1994 ก็ได้ออก Windows 3.2 อีก คิดว่าทุกคนน่าจะเคยเห็นหน้ากันแล้ว สำหรับท่านที่ยังไม่เคยเห็น ผมก็เอาให้ดูแล้ว! โอเค รูปมา…

windows-3-2

 มาถึงปี 1995 ในที่สุด Windows ก็ได้เข้าสู่ยุคเจริญ Windows 95 ได้นำผู้คนจากยุคของ Dos เข้าสู่ยุคของ Windows ระบบ Multimedia ที่โดดเด่น การใช้งานที่เป็นมิตร หน้าตาที่สวยงาม (เทียบกับ DOS, Win 3.2 นะ) บวกกับบริษัทเล็กๆ อ่อนโหมโฆษณาอย่างหนัก ตอนนั้นWindows 95 เป็นที่รู้จักกันไปทั่ว นอกจากมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดแล้ว Windows 95 มีความต่างจากอาวุโสที่สำคัญข้อหนึ่ง นั้นก็คือเขาเป็นโอเอสที่เป็น 16bit/32bit รวมกันด้วย ก่อนหน้านี้ต่างก็เป็นระบบ 16bitกันทั้งนั้น นั่นหมายความว่ายุคของ32bitได้เริ่มขึ้นแล้ว (นอกเรื่องนิสหนึ่ง ในตอนนี้พวกเราก็ยังคงอยู่ในยุคของ 32bitอยู่ ที่อยู่ห้องข้างๆก็เป็น 32bit สำหรับฉัน…..เป็น64bit แล้ว 555+) สรุปว่า ไม่ว่ามองจากด้านไหน windows 95 ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ เห็นได้จากปุ่ม “Start” ที่ใช้มาถึงทุกวันนี้ ของที่ประสบความสำเร็จก็ต้องพัฒนาต่อไป อีก 3 ปีต่อมา Windows 98 ก็ได้ออกมาสู่สายตาผู้คน โอเอสตัวนี้พัฒนามาจาก Windows 95 มันได้แก้ Bug ของ Windows 95 ถึง 3000 กว่าตัว เพิ่มTheme สวยๆ ให้ดูสบายตา แต่ที่สำคัญคือ มันได้ให้ IE มาให้ด้วย เพราะบริษัทเล็กๆ อ่อนๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของ Internet จึงได้เอา IE เข้ามาเป็นโปแกรมพื้นฐาน (จริงๆ แล้ว Windows 95 ก็มี IE แต่เอาไปซ่อนไว้ อย่างกะกลัวใครเห็น) ในปีที่สองเดือน 6 ของปี 1999 Windows 98 SE ได้เป็นจุดประสบผลสำเร็จสูงสูด แต่ก็ถึงจุดจบเหมือนกัน…… อ๋อ…อีกอย่าง ในสาย Windows 95 ยังมีอีกตัวคือ Windows Me เกิดในปี 2000 แต่ก็คงมีไม่กี่คนที่เห็นมันอยู่ในสายตาหรอก เพราะสิ่งที่พัฒนาปรับปรุงไปผู้คนไม่ยักกะชอบ ที่สำคัญๆ ก็คือตัด Dos ออก เปลี่ยนเป็น System Restore แต่ถึงยังไงก็เป็นความคิดที่ดี คือการดูแลระบบ ผู้ใช้ไม่ต้องไปจำคำสั่งยากๆ ใน Dos แต่อันที่จริง การที่ตัด Dos ออกก็กลับทำให้เป็นปัญหายุ่งยาก (ถึงตอนนี้ XP ก็ยังมี Command Line อยู่ แสดงว่า Command Line สิของจริง อิอิ) และ System Restore ก็เป็นปัญหาเหมือนกัน คือทำให้ ประสิทธิภาพของระบบลดลง ทำให้ต้องเสียพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เป็นอย่างมาก และไม่เห็นจะช่วยแก้ปัญหาอะไรได้ ก็นับได้ว่าเป็นโอเอสที่ไม่ประสบความสำเร็จเลยก็ว่าได้ คุณอาจจะคิดว่า หลังจาก Windows 98 SE แล้วก็ยังมี Windows 2000 นี่ แล้วยังมีที่อยู่ห้องข้างนายอย่าง XP ไง จะพูดว่าจบได้ไงละ ใจเย็นฟังฉันเล่าก่อน ย้อยกลับมาที่ปี 1993 หลังจากที่ Windows 3.1 ประสบความสำเร็จ บริษัทเล็กๆ อ่อนๆ ก็ไม่พอใจแค่ตลาดบุคคลเท่านั้น และเริ่มรุกเข้าสู่ตลาด Server แล้ว Windows NT 3.1 ที่พัฒนามาจาก OS/2 ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ตัว Windows NT3.1 เป็นแบบ 32bit เป็นเวอร์ชันที่เข้าสู่ยุค 32bit เร็วว่าบน PC และเนื่องจากเป็นโอเอสที่ใช้บน Server ความเสถียรดีกว่าของ PC มาก แต่เวอร์ชันนี้ไม่ดังเท่าเวอร์ชันต่อมา คือ Windows NT 4.0 เดือนสิงหาคม 1996 Windows NT 4.0 เปิดตัวขึ้น ได้เพิ่มความโดดเด่นด้านการจัดการมากขึ้น ความเสถียรก็ใช้ได้ (แน่นอนถ้าเทียบกัน Linuxละก็….ช่างเหอะไม่อยากจะคุย) เวอร์ชันนี้มีบริษัทไม่น้อยที่ใช้จนถึงทุกวันนี้ Windows ที่ใช้ Kernel ของ NT ก็ได้เข้าสู่สายตาชาวโลก และได้พัฒนาคู่กันไปกับ Windows 95 และหลังปี 2000 ในตระกูล NT ก็ได้เพิ่มสมาชิกอีกคือ Windows NT 5.0 เพื่อตั้งชื่อให้เข้ากับปีที่เปิดตัวดังนั้นเขาก็มีชื่ออีกชื่อก็คือ Windows 2000 ที่โด่งดัง Windows 2000 มุ่งไปที่การใช้งานในบริษัท เข้ามีเวอร์ชันถึง4เวอร์ชันด้วยกัน คือ - Windows 2000 Professional ใช้สำหรับ Workstation, Notebook - Windows Server ก็คือใช้สำหรับ Server ขนาดเล็ก - Windows 2000 Advanced Server สำหรับ Server ขนาด กลางถึงใหญ่ - Windows 2000 Data center Server สำหรับ Server ที่มีขนาดใหญ่มากๆ เช่น หน่วยงานระดับองค์การใหญ่ๆ หรือระดับชาติ เอาละ! มาถึงคนที่ข้างๆห้องมั่ง เราย้อยเวลามาที่ปี 2002 ตั้งแต่ 98 ถึงปี 2002 Windows ที่สำหรับ 4 PC ใน 4 ปีมานี้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก (Windows ME ทำไมต้องพูดถึง ขยะชัดๆ Windows 98 SE ก็เป็นแค่เวอร์ชันปรับปรุงของ 98) แต่การพัฒนาไม่มีวันหยุด Kernel ของ Windows 95 ก็เริ่มที่จะไม่สามารถตามพัฒนาการของฮาร์ดแวร์ได้ทัน บริษัทเล็กๆ อ่อนๆ ก็เลยกัดฟันปล่อยมันไป ไปเอา Kernel ของ Windows NT ที่ทำงานมาได้เป็นอย่างดีมาพัฒนาเป็นเวอร์ชันสำหรับ PC Windows XP นั้นเอง ก็คือที่อยู่ข้างๆ ห้องนั้นแหละ Windows XP มีสองเวอร์ชันคือ Home Edition กับ Professional สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน ก็เหมือน Windows 98 Professional สำหรับ Workstation ก็เหมือน Windows 2000 Professional และสำหรับ Server ก็คือที่เปิดตัวในปี 2003 ที่เป็น Windows 2003 ก็เป็นอีกเวอร์ชันที่ดีเหมือนกัน เอาละ วิชาประวัติศาสตร์ก็พอแค่นี้ก่อน เลิกเรียนได้… ขอบคุณต้นฉบับจากท่าน pisit ณ บ้าน ubuntuclub.com มากครับ ที่ใจดีให้เนื้อหามาแปะที่บล็อกผม
SHARE
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

แสดงความคิดเห็น