สวัสดีครับทุกท่าน จากบทความที่ผมเคยเขียนไว้ในครั้งก่อน อาจจะเคยพูดถึง DE อยู่บ่อย วันนี้มาดูกันครับว่าเจ้า DE มันคืออะไร DE ก็คือ Desktop Environment คือส่วน Graphic User Interface ที่ผู้ใช้สามารถใช้งาน OS ผ่าน Graphic Mode เช่นเดียวกับ Windows หรือ Mac แต่สำหรับ Linux แล้วมี Desktop Environment ให้คุณเลือกใช้มากมาย และที่เป็นที่นิยมนั้น มี 4 แบบด้วยกัน คือ GNOME,KDE,Xfce และ LXDE โดยทั้ง 4 อย่างนี้ใช้งานโดยการที่คุณลากเมาส์ไปในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว Click เท่านั้นครับ เมื่อเราสอบถามคนที่เคยใช้ Desktop Environment ทั้ง 4 แบบ ทุกคนก็ให้ความเห็นไปต่างๆ นาๆ ว่าชอบ Xfce,KDE,GNOME หรือ LXDE อย่างไร เช่นคนที่ใช้ Computer รุ่นเก่าก็มักจะชอบ Xfce หรือ LXDE คนใช้ Computer รุ่นใหม่ๆ ก็จะชอบ GNOME หรือ KDE ซึ่งเราจะสรุปรายละเอียดเกี่ยวกับ Desktop Environment แต่ละแบบให้คุณดังนี้
GNOME
(GNU Network Object Model Environment) ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนาจาก Version 2.x มาเป็น Version 3 แล้ว โดยคุณมักจะพบ GNOME ติดตั้งบน Linux ตระกูลใหญ่ๆ เช่น Debian,Ubuntu, Fedora และ CentOS- GNOME 2 มี Taskbar อยู่ 2 แถบ คือบนและล่าง ซึ่งส่วนบนเป็นส่วนของ Menu bar ส่วนแถบบาร์ด้านล้างเป็น แถบเสริม ในการทำงาน GNOME 2.x ใช้ RAM น้อยกว่า GNOME 3 แต่ใช้ CPU สูงกว่า GNOME 3 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังใช้ RAM และ CPU น้อยกว่า Unity และ KDE
ความต้องการของระบบสำหรับ GNOME 2.x RAM : 384 MB CPU : 800 MHz
- GNOME 3
GNOME 3 คือ ตัวล่าสุดซึ่งพัฒนาต่อมาจาก GNOME 2.xความต้องการของระบบสำหรับ GNOME 3 RAM : 768 MB CPU : 400 MHz
KDE
Xfce
เป็น Desktop Environment ที่ใช้ Resource น้อยกว่า GNOME หรือ KDE ซึ่ง Xfce เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่จะเลือกใช้สำหรับ Computer รุ่นเก่า Xfc เป็น Default Desktop Environment ของ Xubuntu และ PCLinuxOS ความต้องการของระบบสำหรับ Xfc RAM : 192 MB CPU : 300 MHz
LXDE
Unity
Unity ได้รับการออกแบบโดย Canonical ใช้สำหรับ Netbook และปัจจุบันเป็น Desktop Environment เริ่มต้นของ Ubuntu ตั้งแต่ 11.04 ความต้องการของระบบสำหรับ Unity: RAM : 1 GB CPU : 1 GHz เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับ DE หวังว่าทุกท่านคงจะกระจ่างนะครับว่า DE คืออะไร มีอะไรบ้าง หน้าตาเป็นยังไง อันน่าใช้ ชอบอันไหน อยากใช้อันไหนก็เลือกได้ตามสบายเลยนะครับ ขอบคุณ บทความดีๆ จากเว็บ debianthailand ด้วยนะครับ (ขออภัยหากผมนำบทความนี้มาแล้ว ดูไม่เหมาะสม หรือละเมิดลิขสิทธิ์อะไร ก็แจ้งผมได้เลยนะครับ) สำหรับบทความนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้นะครับ แล้วพบกันใหม่ครับ สวัสดีครับ
0 comments:
แสดงความคิดเห็น