ext2 ext3 และ ext4 ใน linux ต่างกันตรงไหน ?

linux

ext2

  • เป็น file system รุ่นที่ 2 ของ linux
  • เกิดขึ้นมาเมื่อ 1993 โดย R?my Card 
  • สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของ ext version แรก
  • ยังไม่มี journaling feature
  • เหมาะสำหรับ flash drive , usb drive เพราะว่าไม่มี over head ของ journaling
  • ขนาดไฟล์ size สูงสุด คือ 16 GB ถึง 2TB
  • พื้นที่เก็บ สูงสุดที่ใช้ Ext2 คือ 2TB ถึง 32TB

ext3

  • เป็น file system รุ่นที่ 3 ของ linux
  • เกิดขึ้นมาเมื่อ 2001 โดย Stephen Tweedie 
  • เริ่มใช้ตั้งแต่ Linux Kernel 2.4.15
  • หลักของมันก็คือมี Journaling ให้ใช้
  • Journaling เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ file system ทำหน้าที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เก็บใน file system (เหมือนตัวบันทึกเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ) เมื่อระบบ file system พังขึ้นมา ก็ยังสามารถกู้ข้อมูลได้เร็วขึ้น เพราะว่ามีการบันทึกเอาไว้ ว่าไฟล์ไหนถูกแก้ไขไปบ้างก่อนที่ระบบจะล่ม
  • ขนาดไฟล์ และ ขนาดพื้นที่รวม ยังคงเท่า Ext2
  • Journaling มีให้เลือกใช้ 3 แบบ
  1. Journal - เก็บ metada และ content
  2. Ordered - เก็บเฉพาะ metadata เท่านั้น โดยเก็บเฉพาะส่วนการเขียนข้อมูลอย่างเดียว
  3. Writeback - เก็บเฉพาะ metada เท่านั้น โดยอาจจะเก็บทั้งก่อน และ หลัง การเขียนข้อมูล
  • สามารถแปลงจาก Ext2 มาเป็น Ext3 ได้โดยไม่ต้องมีกระบวนการ backup / restore
  • directory สามารถจุได้ 32,000 sub directory

ext4

  • เป็น file system รุ่นที่ 4 ของ linux
  • เกิดเมื่อปี 2008
  • เริ่มใช้ใน Linux Kernel 2.6.19
  • รองรับไฟล์ขนาดใหญ่ และ พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่
  • ขนาดไฟล์ที่ใหญ่สุดที่เก็บได้คือ 16GB ถึง 16TB
  • พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่ที่สุดที่รองรับ คือ 1 EB (exabyte) 1EB เท่ากับ 1024 PB (petabyte) 1 PB = 1024 TB (terabyte) หรือเข้าใจง่ายๆคือมันเก็บได้ 1024*1024*1024*1024 gigabyte เลยทีเดียว
  • directory (folder) สามารถจุได้ 64,000 sub directory
  • feature ใหม่ใน ext4 คือ multiblock allocation, delayed allocation, journal checksum, fast fsck และ อื่นๆ โดยจะช่วยเพิ่ม performance และ ความเสถียรให้มากกว่า ext3
  • ใน ext4 สามารถสั่งปิด journaling ได้

ขอบคุณเจ้าของบทความด้วยครับ เครดิต


SHARE
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

แสดงความคิดเห็น